analyticstracking
หัวข้อ   “ คนไทยว่าไง..กับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน
                 คนไทยร้อยละ 60.0 เห็นด้วยกับ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โมเดล โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้จังหวัดอื่น
     ประเมินความพร้อมตัวเองว่าพร้อมเหมือนภูเก็ตหรือไม่ โดย ร้อยละ 61.7 เห็นว่า การเปิดประเทศใน 120 วัน
     จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน
                 ทั้งนี้ร้อยละ 59.9 ยังกังวลหากสายพันธุ์ใหม่เข้ามากับนักท่องเที่ยว ขณะที่ร้อยละ 40.1 มากที่สุดคือ
      ระบุว่าไม่กังวล โดยร้อยละ 42.0 เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อการความเหมาะสมในการเปิดประเทศสัดส่วนคนไทย
      ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ต่อประชากรทั้งหมด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “คนไทยว่าไง..กับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน” โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ ที่ จำนวน 1,202 คน ได้ผลสำรวจดังนี้
 
                  ความเห็นต่อภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบโมเดลนำร่อง พบว่า
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 เห็นด้วย
(เพราะจังหวัดอื่นๆ จะประเมินได้ว่าพร้อมเปิด
เหมือนภูเก็ตไหม และนักท่องเที่ยวที่มาจะอยู่เฉพาะพื้นที่ จ.ภูเก็ต) ขณะที่ร้อยละ 40.0
ระบุว่าไม่เห็นด้วย
(เพราะกลัวถึงวันจริงนักท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่มี และคน
ภูเก็ตยังฉีดวัคซีนกันไม่ครบ)
 
                  สำหรับการที่ไทยมีเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน เพื่อเปิดรับ
นักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำ และ ฉีดวัคซีนครบแล้ว คนไทยร้อยละ
61.7 เห็นว่าจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
รองลงมา
ร้อยละ 23.5 เห็นว่าเป็นการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย และร้อยละ 14.8 เห็นว่าจะนำไปสู่
การปรับมาตรการการท่องเที่ยวไทยที่เหมาะสมในระยะถัดไป
 
                  สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความเหมาะสมในการเปิดประเทศมากที่สุด นั้น คนไทยร้อยละ 42.0 ระบุว่า
สัดส่วนคนไทยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ต่อประชากรทั้งหมด
รองลงมาร้อยละ 23.8 ระบุว่า จำนวนยอดผู้ติดเชื้อ
รายใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของไทย และร้อยละ 19.1 ระบุว่ามาตรการป้องกัน COVID-19 ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า ท่านมีความกังวลหรือไม่อย่างไรกับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน พบว่าคนไทย
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.9 ระบุว่ากังวล
(โดยระบุว่า หากมีเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยวจะคุมไม่อยู่ และไม่แน่ใจว่า
คนไทยจะได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมไหมจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ไหม) ขณะที่ร้อยละ 40.1 ระบุว่าไม่กังวล (โดยระบุว่า เป็นการ
เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศความเสี่ยงต่ำและได้รับวัคซีนครบ และ ถึงวันนั้นคนไทยน่าจะได้รับวัคซีนกัน
ครอบคลุมแล้ว สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้)
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1.คิดอย่างไร กับ ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบโมเดล นำร่อง

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า    
- จังหวัดอื่นๆ จะประเมินได้ว่าพร้อมเปิดเหมือนภูเก็ตไหม ร้อยละ 48.8
- นักท่องเที่ยวที่มาจะอยู่เฉพาะพื้นที่ จ.ภูเก็ต ร้อยละ 36.4
- เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ดี ร้อยละ 14.8
60.0
ไม่เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า    
- กลัวถึงวันจริงนักท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่มี ร้อยละ 66.0
- คนภูเก็ตยังฉีดวัคซีนกันไม่ครบ ร้อยละ 29.8
- อื่นๆ อาทิ ภาคใต้ยังมีคลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้น ถึงจะฉีดวัคซีน
  ครบแล้วก็ยังติดเชื้อได้ ฯลฯ
ร้อยละ

4.2


40.0
 
 
             2. คิดอย่างไรกับการที่ไทยมีเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศ
                  ความเสี่ยงต่ำ และ ฉีดวัคซีนครบแล้ว


 
ร้อยละ
ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
61.7
เป็นการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย
23.5
นำไปสู่การปรับมาตรการการท่องเที่ยวไทยที่เหมาะสมในระยะถัดไป
14.8
 
 
             3. ปัจจัยใดที่มีผลต่อความเหมาะสมในการเปิดประเทศมากที่สุด

 
ร้อยละ
สัดส่วนคนไทยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ต่อประชากรทั้งหมด
42.0
จำนวนยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของไทย
23.8
มาตรการป้องกัน COVID-19 ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
19.1
ความพร้อมของจังหวัดท่องเที่ยวต่างๆ ในการเปิดรับนักท่องเที่ยว
15.1
 
 
             4. ท่านมีความกังวลหรือไม่อย่างไรกับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน

 
ร้อยละ
มีความกังวล
โดยระบุว่า    
- หากมีเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยวจะคุมไม่อยู่ ร้อยละ 45.7
- ไม่แน่ใจว่าคนไทยจะได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมไหมจะสร้าง
  ภูมิคุ้มกันหมู่ได้ไหม
ร้อยละ

21.7

- วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ หากติดเชื้อจากนักท่องเที่ยว
  อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
ร้อยละ

19.8

- แต่ละจังหวัดมีศักยภาพด้านการจัดการดูแลไม่เหมือนกัน
   อาจเกิดปัญหาขึ้นได้
ร้อยละ

12.8

59.9
ไม่กังวล
โดยระบุว่า    
- เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศความเสี่ยงต่ำ
  และได้รับวัคซีนครบ
ร้อยละ

39.3

- ถึงวันนั้นคนไทยน่าจะได้รับวัคซีนกันครอบคลุมแล้ว สร้าง
  ภูมิคุ้มกันหมู่ได้
ร้อยละ

21.0

- การท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของประเทศ สร้างรายได้
  ให้กับประชาชน
ร้อยละ

20.6

- มั่นใจในมาตรการป้องกันและความร่วมมือกันทำงาน
  ของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย
ร้อยละ

19.1


40.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเห็นต่อเป้าหมายการเปิดประเทศ ใน 120 วัน
ตามที่นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์เมื่อวัน ที่16 มิถุนายน 2564 ในประเด็นต่างๆ ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเปิดประเทศ
ตลอดจนความเห็นต่อภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบโมเดลนำร่อง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม
และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ของกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22-24 มิถุนายน 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 26 มิถุนายน 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
595
49.5
             หญิง
607
50.5
รวม
1,202
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
95
7.9
             31 – 40 ปี
185
15.4
             41 – 50 ปี
322
26.8
             51 – 60 ปี
308
25.6
             61 ปีขึ้นไป
292
24.3
รวม
1,202
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
703
58.5
             ปริญญาตรี
367
30.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
132
11.0
รวม
1,202
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
155
12.9
             ลูกจ้างเอกชน
259
21.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
424
35.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
68
5.7
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
235
19.6
             นักเรียน/นักศึกษา
22
1.8
             ว่างงาน
36
3.0
รวม
1,202
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898